top of page
ค้นหา
  • korawichkav

ความสำคัญของ Project Manager และความท้าทายของตำแหน่งนี้

Date 6/11/2020

Author กรวิชญ์ กวี - R&D Engineer

ตำแหน่ง Project Manager (PM) เป็นตำแหน่งที่เราจะต้องเจอในทุกๆโครงการการก่อสร้าง หรือแม้แต่เป็นโครงการอื่นที่ไม่ใช่การก่อสร้างหรือเกี่ยวกับวิศวกรรมเลยก็ตาม ก็มี Project Manager เป็นผู้ที่รับผิดชอบภาพรวมทั้งหมดของโครงการ ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด เปรียบเทียบได้เหมือนเป็น Mini-CEO จึงเรียกได้ว่า บุคคลที่จะมาเป็น PM เป็นกุญแจสำคัญที่จะมาตัดสินผลลัพธ์หรือ Outcome ความสำเร็จของโครงการเลยก็ว่าได้ และศาสตร์ที่เกี่ยวกับอาชีพก็คือ Project Management แต่ด้วยความที่ศาสตร์การบริหารโครงการแบบสมัยใหม่ (Modern Project management) เพิ่งเริ่มเป็นรูปร่างในช่วงปี 1942-1946 ที่มี Manhattan Project ในสหรัฐอเมริกา[i] บวกกับ PM บางคนในการทำงานจริงบางหน่วยงานไม่ได้เรียนเรื่องของ Critical Path Method (CPM) หรือ Earn Value Management (EVM) มาโดยตรง จบมาจากสายวิศกรรมอะไรก็ตาม สถาปัตยกรรมอะไรก็ตาม ไม่ได้ต่อป.โทหรือเรียนป.ตรีการบริหารการก่อสร้างโดยตรง ก็สามารถมาทำงาน PM ได้ด้วยประสบการณ์ ฝรั่งบางคนจะเรียกอาชีพ PM เล่นๆว่าเป็น “Accidental Profession” หรือก็คือเขาแซวเล่นว่า PM เป็นวิชาชีพหรือศาสตร์ที่ ทำไปหลายๆครั้ง ก็เชี่ยวชาญค้นพบศาสตร์ของ PM ได้โดยบังเอิญ[ii]



ตำแหน่ง PM เป็นงานที่มีความยาก โดยในบทความนี้ได้สรุปแจกแจงออกมาดังต่อไปนี้[iii]

1. Full of responsibility while lacking full authority – แม้ PM จะเป็นคนที่แบกรับความรับผิดชอบของงานทั้งหมดในทุกส่วนของโครงการ แต่ก็ไม่ใช่คนที่มีอำนาจสั่งการ (Authority) ได้ทั้งหมดทุกภาคส่วน ทุกบริษัท ทุกองค์กร ที่อยู่ในโครงการที่ตนรับผิดชอบ


2. Different language, different way to communicate - เพราะแต่ละคน ไม่ว่า designer, owner, contractor, supplier, government agency ทุกคนแม้จะต้องการให้โครงการสำเร็จ แต่จริงๆแล้วก็มีเป้าหมายภายในต่างกัน การสื่อสารกับแต่ละปาร์ตี้ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ PM จะต้องวางแผนการประสานงานให้ดี จะต้องคำนึงถึงโอกาสที่จะต้องปรับภาษาหรือวิธีการพูดให้ปัญหาแต่ละอย่างผ่านไปได้


3. Parties who seldom keep their promise บ่อยครั้งที่องค์กรบางส่วน ให้คำสัญญาไม่ว่าจะมี record หรือเป็นการพูดที่ไม่มี record แต่กลับผิดสัญญา ไม่ว่าตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ก็ทำให้ PM วางแผนโครงการได้ยากมากขึ้น เป็นความเสี่ยงที่ต้องบริหาร (Risk management)


4. No excuses, but explanations ด้วยความที่ PM จะต้องมีความรับผิดชอบทุกงานในทั้งโครงการที่ดูแล ความผิดพลาดใดที่เกิดขึ้นจึงตกมาเป็นความรับผิดชอบ PM ไม่สามารถแก้ตัวหรือโยนความรับผิดชอบให้ผู้อื่นได้โดยตรง แต่ทั้งนี้ PM ก็จะต้องสามารถอธิบายเหตุผล สืบสวนข้อมูลที่มาของข้อผิดพลาด และเสนอแนวทางแก้ไขให้เจ้าของและทุกคนต่อไปได้


ดู 1,793 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page