Date 16/10/2020
Author กรวิชญ์ กวี - R&D Engineer
เราอาจจะเคยได้ยินคำว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาก่อนการลงทุน” แต่บางท่านอาจจะสงสัยว่า แล้วคำว่าศึกษาก่อนการลงทุนที่ว่านี้ มันมีวิธีอย่างไรบ้าง
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีกิจการของเรา และเราอยากจะลงทุนเงิน 100 ล้านบาท เพื่อโครงการก่อสร้างอาคารใหม่ เราอยากจะรู้ว่ามันคุ้มค่าไหมที่จะลงทุน จะศึกษาอย่างไร? ซึ่งในปัจจุบันก็มีวิธีการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจหลายวิธี[i] แต่ในวันนี้จะขอเน้นไปที่หลัก “มูลค่าปัจจุบันสุทธิ” หรือ Net Present Value (NPV) นั่นเอง เป็นขั้นพื้นฐานของการทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study)
ขั้นแรกก่อนอื่นเลยคือ เราตั้งเป้าว่าผลประโยชน์ที่เราจะได้จากโครงการนี้จะเป็นอย่างไร? เช่นในตัวอย่างเดิมนั้น ถ้าเราคาดการว่า พอก่อสร้างอาคารเสร็จ นำไปหากำไร ผลตอบแทนอย่างน้อยต่อปีในอนาคตจะได้ 30 ล้านบาท และเรามองกรอบเวลาความคุ้มค่าของเราคือภายใน 4 ปีข้างหน้า ถ้าเอาข้อมูลเงินลงทุน (Cost) กับ ผลประโยชน์ (Benefit) วาดภาพกระแสเงินสด (Cash Flow) ออกมาจะได้ตามนี้
หลักการ NPV คือทำให้มูลค่าอะไรก็ตามในอนาคต (Future Value) มาแปลงให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน(ปีที่ 0 ที่เราลงทุน Present Value) แล้วดูเปรียบเทียบว่าผลต่างของทั้งสองด้าน (Net Present Value) ว่ายังคุ้มค่าหรือไม่
อ่านถึงตรงนี้ท่านผู้อ่านบางคนอาจถามว่า “งั้นก็แค่เอา 30ล้านคูณ4ง่ายๆไม่ได้หรือ ก็จะได้ 120ล้านบาท? ซึ่งมากกว่า100ล้านบาท?” คำตอบคือ “ไม่ใช่” เป็นวิธีคิดที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงของภาวะเศรษฐกิจจริง เราไม่สามารถเอาค่า Future Value มาคิดตรง ๆแบบนั้นได้ เพราะการได้กำไร 30 ล้านปีหน้า ไม่ได้มีค่าเท่ากันกับได้ 30 ล้านปีนี้เลย เวลาและโอกาสที่เสียไปมันมีค่าแฝงอยู่ การจะแปลงค่า Future 30 ล้านมาเป็น Present จึงย่อมต้องได้น้อยกว่า 30 ล้าน หรือก็คือ มีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนนั่นเอง (Return on Investment หรือบางที่ก็จะใช้คำว่า annual return, discount rate, ค่าเสียโอกาส) มีค่าเป็น “กำไรที่เกิดจากการลงทุน”/ “เงินลงทุน” (%) ซึ่งในโลกความเป็นจริงนั่นมีปัจจัยหลายอย่างมากที่จะขยับเปอร์เซ็นต์นี้ได้ และทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละสังคมให้ความสำคัญแก่อนาคตมากน้อยเพียงใด แต่สมมติตัวอย่างนี้และในวิธีการที่คล้ายๆกันกับ NPV จะใช้ i=12% [ii]
โดยจริง ๆแล้วสูตรที่ใช้แปลงค่าในอนาคตค F เป็นค่าปัจจุบัน P ก็คือ
ซึ่งในกรณีตัวอย่างของเรา 1+i=1+0.12=1.12 นั่นเอง และการที่ปี n เป็นตัวยกกำลังส่วน ก็ยิ่งตอกย้ำว่ายิ่งเวลาผ่านไปหลายปี ผลประโยชน์ 30 ล้านบาทยิ่งลดลงเมื่อแปลงมาแล้ว
สรุปการศึกษาการลงทุนของโครงการก่อสร้างอาคารนี้ด้วย NPV ตามเงื่อนไขนี้ ก็จะได้ว่า
การที่ได้ค่า NPV หรือ B-C ติดลบแบบนี้ แสดงว่าการลงทุนนี้รับไม่ได้ ซึ่งอาจจะแก้ไขได้คือ
· ดูรายละเอียดอีกครั้งว่า ทำไมค่าเงินลงทุนก่อสร้างถึง 100 ล้าน เพราะเมื่อทำการตรวจเช็คแบบอาจเจอว่าจริง ๆแล้วสามารถทำงานวิศวกรรมมูลค่า Value Engineering ได้ อาจจะลดค่าลงทุนก่อสร้างลงได้ 10 ล้าน เหลือ 90 แค่นี้ก็ทำให้ NPV ขึ้นมาเป็นบวกได้ ทั้งนี้ผู้ที่จะแก้ไขตรงนี้ได้ต้องมีความรู้ทั้งเชิงวิศวกรรม Engineering และเชิงเศรษฐศาสตร์ Economics
· ในส่วนของ Benefit ก็ต้องดูว่าเราจัดสรรดแผนการประกอบการของเรา ปรับแผนธุรกิจให้ทำกำไรมากกว่านี้ได้หรือไม่ในเงินลงทุนเริ่มที่เท่ากัน
Comments