top of page
ค้นหา
korawichkav

รวม 5 คอร์สน่าเรียนสำหรับสายวิชาชีพ AEC ใน LinkedIn Learning

การศึกษาไม่ได้จบแค่ในรั้วสถาบันการศึกษา การพัฒนา Upskill ตัวเองเป็นเรื่องที่เราจะต้องทำตลอดเวลาไม่มีที่สิ้นสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับ Digital Disruption สำหรับสายงานวิชาชีพ AEC (Architecture, Engineering & Construction) วันนี้ผมมี 5 คอร์สออนไลน์มาแนะนำครับ ซึ่งเป็นคอร์สออนไลน์ในแพล็ตฟอร์มของ LinkedIn Learning ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบ LinkedIn นั่นเอง (ดังนั้นต้องใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนนะครับ ส่วนใบ Certificate จะไปเชื่อมกับโปรไล์ของเราได้เลย)


 

1. Digital AEC Foundations

สำหรับคนที่อยากจะเริ่มก้าวแรกในการปรับตัวในการก่อสร้างแบบใหม่ คอร์สนี้เหมาะที่จะเป็นจุดเริ่มต้น เพราะยังไม่ได้ลงรายละเอียดไปว่าจะต้องใช้เครื่องมือไหนเป็นการเจาะจง แต่ผู้สอนเขาจะพาเรามาดูภาพรวมของเครื่องมือแบบมองจากข้างบนก่อนว่ามันคืออะไรบ้าง ใครเคยได้ยินคำว่า BIM แล้วยังงงๆ หรือไม่เข้าใจเรื่อง Digital twins การเก็บ Data การ digitize การก่อสร้างต่างๆ คอร์สนี้สอนแบบ Introduction เลยครับ


2.Learning Bluebeam 2019

ต่อให้ในอนาคตเราจะไป Go BIM กันขนาดไหน แต่การใช้ไฟล์ดอต PDF คงไม่หายไปไหนง่ายๆแน่ในเร็ววันนี้ ในการก่อสร้างทุกโครงการจะต้องมีโอกาสที่เราจะต้องใช้การอ่านแบบและ Markup แบบ drawing ซึ่งบางคนอาจจะใช้ของที่มีประวัติเก่าแก่อย่าง Adobe Acrobat แต่รู้หรือไม่จริงๆมันมี PDF เจ้าอื่นมากมายที่เกิดมาเพื่อวงการวิศวกรรมและก่อสร้างเจาะจงเลย เช่น Drawboard หรือ Bluebeam ซึ่งคอร์สนี้ก็สอนแบบคนเพิ่งเริ่มต้น Bluebeam 2019 ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่จะใช้แบบเวอร์ชั่นไหนที่เหมาะกับเรา การเริ่มต้นใส่สัญลักษณ์ ใส่คอมเม้นต์ Collaboration กันในทีมวิศวกร การบริหารแบบ As-Built Drawing การทำ Punch List การวัด Scale การทำงานถอกปริมาณ Takeoffs (QS) เรียกได้ว่าครบมาก


3.Rhino: Twinmotion Workflow

สถาปนิกผู้ออกแบบหลายคนน่าจะสนใจคอร์สนี้ โดยเฉพาะคนที่ต้องการเสริมทักษะการทำงาน renders ให้ได้ภาพที่มีแสงและเงาสมจริง (photorealistic real-time renders) โดยในคอร์สนี้เขาจะสอนเริ่มต้นด้วยการขึ้นโมเดลใน Rhino เบื้องต้น และไปต่อที่ส่วน Twinmotion ที่จะเป็นตัวทำงานเรนเดอร์จริง สอนการซิงค์ไฟล์ .3DM ให้เชื่อม Material กันถูกต้อง การเสริมสร้างบรรยากาศร่มรื่นด้วยต้นไม้ใบหญ้า การตั้งค่าท้องฟ้าและสภาพอากาศ การตั้งค่าการสะท้อนแสงและเงาตกกระทบของวัตถุมันเงา


4. QGIS and Python for AEC

สำหรับใครยังไม่รู้จัก QGIS เป็นโปรแกรม open-source ที่ใช้ในการทำงาน GIS ทำการ visualizing พวก data ที่เกี่ยวกับการสำรวจรังวัด และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับค่าพิกัดแผนที่อื่นๆทั่วไป ซึ่งด้วยความที่มันเป็น open-source มันก็เลยเป็นที่จะเอาการเขียนโค้ด Python script มาช่วยทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อาจจะฟังดูน่ากลัวสำหรับสถาปนิกที่ไม่เคยเรียน Programming มาก่อน (วิศวกรมีเรียนมาอยู่แล้วแต่คนรุ่นเก่าอาจจะไม่เคยนำมาประยุกต์เลย) แต่คอร์สนี้เขาก็พาเดินแบบเริ่มเปิด script เปล่าเขียนไปด้วยกัน ใช้มันกับการจัดการ QGIS projects และ layers ข้อมูล geometry การนำเข้า DWG / DXF files ในโครงการของเรา และรวมถึงสอนการสร้าง plugins ไว้ให้ install กับ QGIS ใครต้องการเสริมทักษด้านการจัดการผังโครงการ วิเคราะห์พิกัดแผนที่ ถือว่าเหมาะมากที่จะเรียนไว้


5.Construction Management Foundations

คอร์สนี้ไม่ใช่คอร์สสอนใช้ซอฟแวร์แบบข้างต้น แต่เป็นพื้นฐานที่ construction manager (CM) ที่ดีควรรู้ไว้ ในคอร์สนี้จะพูดถึงภาพรวมของกระบวนการขั้นตอนการขึ้นโครงการก่อสร้าง ตั้งแต่การเริ่มรวมความต้องการของ Owner การวางแผน การเริ่มต้นก่อสร้าง การทำ project delivery รวมถึงเข้าใจพื้นฐานของ Roles แต่ละคนและส่วนในทั้งโครงการก่อสร้าง และในคอร์สนี้ก็จะมีการเชิญผู้บริหารการก่อสร้าง 3-4 คนเข้ามาอธิบายสิ่งที่ตัวเองทำด้วย และท้ายที่สุดก็จะมีพูดถึงการเปลี่ยนไปของกระบวการก่อสร้างจริง ทั้งรูปแบบ Design–bid–build/ Design-build การบริหารความเสี่ยง CMAR การใช้ 3D-Printing และ technology ใหม่ๆส่งผลให้เราต้องเปลี่ยน Process อย่างไร การส่ง Manual/Instruction ให้กับเจ้าของโครงการแบบสมัยเก่า Vs สมัยใหม่ มันต่างกันอย่างไร นับได้ว่าเรียนได้ทั้ง CM คนรุ่นใหม่และเก่า


ถ้าชอบบทความนี้ สามารถแชร์ลง Social Network ต่างๆเพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้เขียน มีคำถามประการใด โปรดติดต่อ แผนก R&D researchdevelopment@ph2000.co.th


ดู 274 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page